ภาพของฉัน

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

การดูโทรทัศน์ครู




           จากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณครูแมว –ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ “การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน” โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน


วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 16

วันพฤหัสบดีที่  8  มีนาคม  พ.ศ. 2555

ส่งงานอาจารย์   อาจารย์บอกข้อเสนอแนะ และการแก้ไขชิ้นงาน



  • ข้อเสนอแนะนำหลังจากการนำเสนอ
  1. การจัดส่วนองค์ประกอบของหน้ากระดาษยังไม่สมดุล
  2. ควรเขียนคำใบ้ให้อยู่หน้าเดียวกันกับรูปภาพ
  3. ควรเขียนแยกคำให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กเล็กสามารถหัดอ่านได้สะดวกขึ้น
  4. ควรทำให้เป็นระเบียบเรียนร้อยให้มากกว่านี้

    วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

    บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 15

    วันพฤหัสบดีที่  1   มีนาคม  พ.ศ. 2555
    1. ให้นักศึกษา นำเสนอผลงานที่ค้างไว้
    2. อาจารย์สอน ร้องเพลง ก-ฮ
    3. อาจารย์สอนการทำสื่อเกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็ก  โดยใช้กระดาษแข็ง ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแแบ่งครึ่งกระดาษด้านบนวาดภาพที่ล่างให้เขียนคำใต้
    4. งานชิ้นที่  2  คือ ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน   จากนั้นวาดภาพที่เราต้องการเเละเขียนคำใต้ภาพให้ถูกต้อง  จากนั้นให้ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัดเป็นกระดาษเล็ก           สามแผ่น  และเขียนคำเดิมลงไป  เมื่อเด็กได้เห็นเเล้วจะสามารถอ่านออกได้ว่ารูปที่เห็นอยู๋ในภาพมีความหมายว่าอย่างไร

      

    บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14

          วันพฤหัสบดีที่  23  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2555



    1. สอนการทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก  โดยการที่ เราจะทำนั้น จะต้องเป็นอะไรที่หลากหลาย    สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา  ไม่ตายตัว
    2. อาจารย์นำหนังสือนิทาน ตัวอย่างที่รุ่นพี่ได้ทำไว้มาให้ดู  เป็นหนังสือนิทานโดยใช้รูปเป็นสื่อเป็นตัวเชื่อมกันกับคำถาม  ให้เด็กๆ ได้ทายว่าอะไร
    3. หลักในการทำ  เราตัองตั้งในคำถามที่ ใหญ่ก่อน เเล้วค่อยให้คำถามนั้นแคบลง
    4. งานที่สอง เป็นหนังสือนิทานเช่นเดียวกัน หน้าปกหนังสือ จะไม่มีชื่อบอกว่า หนังสือเป็นหนังสือ อะไร  และเดี่ยวจะให้เด็กๆ ได้ทายหลังจากที่เล่านนิทานจบ  ว่าสุดท้ายเเล้วนั้นหนังสือนิทานเล่มนี้ชื่อว่า อะไร
    5. หนังสือนิทนเล่นนี้จะสังเกตได้ว่า  จะมีคำซ้ำๆอยู่ เนื่องจากต้องการให้เด็กนั้นได้ฝึกการสังเกตระหว่างภาพกับคำที่ปรากฏ
    การบ้าน

           ให้ทำหนังสือเล่มเล็ก  โดยให้เด็กนั้นได้มีส่วนร่วมในการทำ  เช่น เมื่อเราเลือกหัวข้อ ที่เราอยากจะทำ  หลังจากนั้นเลือกรูปให้เด็ก เลือกรูปที่ต้องการเเละฉีกมันออกมา  จากนั้นนำไปติดบนกระดาษที่เราเตรียมไว้ และพี่สังเกตพฤติกรรมของน้องในการฉีกรูปภาพด้วย   เเละสรุปให้เรียนร้อย


    วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13

    วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555  ( เรียนชดเชย )
    บรรยากาศในห้องเรียน
    • อากาศเย็นสบาย
    • เทคโนโลยีใช้ได้ดี
    ความรู้จากการเรียน

    การเล่านิทานจากภาพวาดต่อกัน
    • แน้มและเพื่อนๆ นั่้งรถเมลล์ไปเที่ยวสวนสัตว์  แน้มก็ได้เจอหอยทากบนรถเมลล์  เเน้มก็ดีดหอยทากและหยิบส้มขึ้นมากิน  แน้มเจอลูกโปร่งรูปหมีแน้มอยากได้  แน้มจึงซื้อลูกโปร่งรูปหมีเดินเข้าไปในสวนสัตว์  ภายในสวนสัตว์แน้มก็ได้เจอกับลูกหมูตัวน้อยๆ  พอเดินไปสักพักแน้มก็ได้แวะให้อาหารปลาและได้เจอนกตัวหนึ่ง กำลังจิกกินน้ำหวานของดอกไม้อย่างมีความสุข
    กิจกรรมนี้ส่งเสริม 
    • การใช้ภาษา
    • การเรียบเรียงและการเชื่อมโยงประโยค
    • การแสดงออกของเด็ก
    • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    • การให้ความสำคัญให้กับเด็กโดยให้เด็กได้เล่าเอง
    • การเรียนรู้ของเด็ก
                เด็กๆ ใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความคิด  ความรู้สึก ตลอดจนทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่มีความหมาย
                 ลักษณะของภาษา
               เนื้อหาของภาษา  ได้แก่ หัวข้อเนื้อเรื่อง หรือความหมายของสารที่จะใช้กับสื่อกับผู้อื่นประกอบด้วยชื่อคน  สัตว์  สิ่งของ เหตุการณ์ ความสัมพันธ์ 

                  การใช้ภาพแทนคำ

      บ้าน

                รูปแบบของภาษา
              เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์  คำที่มีความหมาย และซึ่งประกอบด้วย  3 ส่วน คือเสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วยลำดับคำหรือประโยค

              1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห  


    ( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )
     
    2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ  
    ( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )
     
    3.อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น  
    - อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  
    (พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )
     
    - อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล  
    ( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )


    กิจกรรมท่อง ก-ฮ 
         1. เรียงเสียงที่เหมือนกันให้อยู่ใกล้กัน
         2. สระบางครั้งก็อยู่ข้างหน้าพยัญชนะ  บางครั้งก็อยู่ข้างหลังพยัญชนะ
         3. การผสมคำ
    การผสมคำ


     
    การนำไปใช้ประโยชน์
    • มีเทคนิคในการจำอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
    • รู้จักการแต่งนิทานโดยการเล่าเรื่องต่อกันจากการวาดภาพและสามารถนำมาสอนเด็กได้

    วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12

    วันพฤหัสบดีที่  16  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
    บรรยากาศในห้องเรียน
    • อากาศเย็นสบาย
    • เทคโนโลยีช้า
    ความรู้จากการเรียน

    การทำหนังสือภาพ
    • เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์
    • คำว่า "อะไร" เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ
    • ข้อสรุป
    การสร้าภาพปริศนาคำทาย
    • เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
    • วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งของที่กำหนดให้หลากหลายที่สุด
    • เรียงลำดับลักษณะของสิ่งของที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะที่ของหลายๆ สิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
    • นำมาจัดเรียงลำดับ
    • แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
    การนำไปใช้ประโยชน์

    • ได้รู้จักวิธีการทำหนังสือจากภาพและการสร้างปริศนาคำทาย
    การบ้าน
    • จับกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ทำหนังสือจากภาพและการสร้างปริศนาคำทาย

    วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

    วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2555

    ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
    หมายเหตุ   ชดเชยการสอนโดยการทำหนังสือจากภาพและการสร้างปริศนาคำทาย